วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

สะสมงาน

ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์ โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้น ๆ
2. ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
3. ภาพ/วิดีโอประกอบ
4. สรุป เสนอแนะ


สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561


เนื้อหา/กิจกรรม
   - ออกเสียงสระ
   - หาความหมายของคำ
   - ทำคำศัพท์เป็นหมวดหมู่
   - เลือกเพลงและทำท่าทางประกอบ
   - ได้ฝึกเขียนA-Z

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้

   - ได้รู้จักการเสียงสระ
   - ได้รู้จักความหมายของคำ
   -  ได้คิดสร้างสรรค์ท่าทางประกอบเพลงที่เราเลือก
   - ได้ระบายสีหมวดคำศัพท์

ภาพ/วิดีโอประกอบ








สรุป เสนอแนะ
   ได้รู้ความหมายของคำศัพท์มากขึ้น การออกเสียงของคำที่ถูกต้องและได้คิดท่าทางประกอบเพลง



สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561

เนื้อหา/กิจกรรม
   - ได้อ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ถูกวิธี ได้ฝึกเขียน name in phonetic type

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - การออกเสียงพยัญชนะที่ถูกต้อง รู้คำศัพท์เพิ่มเติม

ภาพ/วิดีโอประกอบ


ในภาพอาจจะมี ข้อความ


สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและได้ฝึกการเขียนชื่อตัวเองแบบ Phonetic




สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561


เนื้อหา/กิจกรรม
   - การออกแบบห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน ทำห้องต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากลังกระดาษ โดยบรรยายด้วยภาษาอังกฤษ

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้

   - ได้รู้คำศัพท์เครื่องใช้ภายในบ้านของแต่ละห้อง
   - ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและอาจารย์
   - ได้สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ

ภาพ/วิดีโอประกอบ


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง


สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกพูดสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับอาจารย์ ได้รู้คำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องใช้ภายในบ้านและได้ออกแบบบ้านจากลังกระดาษ



สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิการยน 2561

เนื้อหา/กิจกรรม
   - ฝึกฝนวิธีออกเสียงคำและประโยค 
   - ได้นำเสนอเกี่ยวกับห้องในบ้าน

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - ได้ฝึกทักษะการออกเสียงที่ถูกต้องเกี่ยวกับคำศัพท์ของ ห้องนอน
   - ได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษในการนำเสนอเกี่ยวกับห้องนอน

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ

   ได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษและได้ออกเสียงคำศัพท์เครื่องใช้ในห้องนอนที่ถูกต้อง



สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 4 ธันวาคม 2561


เนื้อหา/กิจกรรม
   - เขียนพยัญชนะ A-Z พิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ และการฝึกแต่งประโยค คำถาม บอกเล่า และปฏิเสธ

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - การเรียบเรียงประโยคอย่างไรจึงจะถูกต้องแล้วสามารถเข้าใจ

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการแต่งประโยคคำถาม บอกเล่า ปฏิเสธ โดยนำคำศัพท์มาจากเอกสารประกอบการเรียน และ
ได้เขียนพยัญชนะ A-Z ตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่



สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม 2561

เนื้อหา/กิจกรรม
   - แบบทดสอบรายบุคคล การอ่านและการออกเสียง ไวยากรณ์ : มี/มีคำนาม คำบุพบทและคำสรรพนาม

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - การออกแบบแบบฝึกหัดสำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รู้จักค้นหาศัพท์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในแบบฝึกหัดที่ง่าย ๆ และเหมาะสมกับเด็ก

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการออกแบบ แบบฝึกหัดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้คำศัพท์ที่ง่ายเหมาะสมกับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจ



สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 17 ธันวาคม 2561

เนื้อหา/กิจกรรม
   - สอบเก็บคะแนน

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - ได้ฝึกแต่งประโยคที่ถูกต้อง และออกแบบ แบบฝึกหัดที่เป็นภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

ภาพ/วิดีโอประกอบ




สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการแต่งประโยคคำถาม บอกเล่า ปฏิเสธและได้ออกแบบ แบบฝึกหัดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย



สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 25 ธันวาคม 2561

เนื้อหา/กิจกรรม
   - การใช้ this that these those และการแต่งเรื่องจากภาพ

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - เรียนรู้การใช้ this that these those อย่างถูกต้อง และได้แต่งนิทาน 4 ช่อง สำหรับเด็กปฐมวัย 
เรียนรู้วิธีแต่งประโยคที่ถูกต้อง

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการแต่งนิทาน 4 ช่อง โดยใช้คำศัพท์ที่อาจารย์กำหนดให้ และได้เรียนรู้การใช้ this that these those อย่างถูกต้อง



สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 8 มกราคม 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - สอบอ่าน และเล่าเรื่องนิทาน 4 ช่อง

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - เรียนรู้การออกเสียงสอบเล่าเนิทานที่ถูกต้อง การทำเสียงสูงต่ำเล่านิทานตามเนื้อเรื่องโดยต้องเล่าอย่างไรให้น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน

ภาพ/วิดีโอประกอบ




สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการเล่านิทานที่ถูกต้องด้วยเสียงสูงต่ำที่จะทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นและสนุกสนาน



สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 15 มกราคม 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - การเรียน past tenses : simple and continuous. แต่งนิทาน

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - การใช้ tenses ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง เรียนรู้การแต่งประโยค

ภาพ/วิดีโอประกอบ




สรุป เสนอแนะ
   ได้ฝึกการใช้ tenses ในการแต่งประโยคตามรูปภาพให้ถูกต้อง 



สัปดาห์ที่ 11 วันที่ 22 มกราคม 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - Review grammar for classroom เทคนิคการสอนภาษาต่างประเทศ

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - รู้จักการใช้แกรมม่าอย่างถูกวิธี ในการแต่งประโยคที่ถูกต้อง เทคนิคการแต่งประโยคในหลาหหลายรูปแบบ

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ
   ได้เรียนรู้การใช้แกรมม่าในการแต่งประโยคอย่างถูกวิธีและได้เทคนิคการแต่งประโยคหลากหลายรูปแบบ



สัปดาห์ที่ 12 วันที่ 29 มกราคม 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - วิทยากรให้ความความรู้เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - รู้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ถูกต้อง เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย รู้เทคนิคการสอนที่มีภาษาอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง รู้ความสำคัญของเด็กปฐมวัย

ภาพ/วิดีโอประกอบ


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน และสถานที่ในร่ม


สรุป เสนอแนะ
   ได้รู้เทคนิคในการสอนเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย เข้าใจความต้องการของเด็กและจัดสภาพแวดล้อมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามความสนใจของเด็ก 




สัปดาห์ที่ 13 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - มีวิทยากรมาสอนการสร้างสื่อ สำหรับเด็กปฐมวัย ยกตัวอย่างการทำสื่อ คือเรื่อง คำศัพท์ผลไม้ภาษาอังกฤษที่สามารถทำให้มีเสียงได้

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - ได้รู้วิธีการทำสื่อให้น่าสนใจสำหรับเด็กปฐมวัย การนำเสียงแทรกเข้าไปในตัวอักษรให้เกิดเสียงสามารถฝึกเด็กให้ออกเสียงจากสื่อเรา การทำสื่อที่มีสีสันน่าสนใจดึงดูด

ภาพ/วิดีโอประกอบ




สรุป เสนอแนะ
   ได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยที่แปลกใหม่ไปจากเดิมเพื่อทำให้น่าดึงดูด สนใจ ตื่นเต้นและยังสามารถฝึกให้เด็กรู้จักฟังและออกเสียงได้ถูกต้อง



สัปดาห์ที่ 14 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562

เนื้อหา/กิจกรรม
   - การออกแบบสื่อแบบสามมิติ จากการทำผ่านมือถือ

ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
   - เรียนรู้วิธีทำสื่อสามมิติที่เหมือนจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้

ภาพ/วิดีโอประกอบ



สรุป เสนอแนะ
   ได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อดึงดูดความน่าสนใจให้กับเด็กได้อยากเรียน
























ใบงานที่ 14

สัปดาห์ที่ 14 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562

การออกแบบสื่อ AR



ใบงานที่ 13

สัปดาห์ที่ 13 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562


1. อาจารย์ปู สาขาเทคโนคอม มาเป็นวิทยากรการสร้างสื่อ สำหรับเด็กปฐมวัยให้น่าสนใจ


ใบงานที่ 12

สัปดาห์ที่ 12 วันที่ 29 มกราคม 2562

วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน และสถานที่ในร่ม

ใบงานที่ 11

สัปดาห์ที่ 11 วันที่ 22 มกราคม 2562

1. Review grammar for classroom
2. เทคนิคการสอนภาษาต่างประเทศ

ใบงานที่ 10

สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 15 มกราคม 2562

1. past tenses : simple and continuous.



ใบงานที่ 9

สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 8 มกราคม 2562

สอบอ่าน และเล่านิทาน 4 ช่อง






ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ใบงานที่ 8

สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 25 ธันวาคม 2561

1. การใช้ this that these those

2. 5 patterns of the sentence
3. แต่งเรื่องจากภาพ (นิทาน 4 ช่อง)



ใบงานที่ 7

สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 17 ธันวาคม 2561

1. สอบเก็บคะแนน

ใบงานที่ 6

สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม 2561
1. Individual Quiz : writing
2. Pair Quiz : Reading and pronunciation (from the uploaded document - not in a class)
3. Grammar : there is/there are , wh - questions , prepositions and pronouns.

1. แบบทดสอบรายบุคคล : การเขียน
2. Pair Quiz : การอ่านและการออกเสียง (จากเอกสารที่อัพโหลด - ไม่ได้อยู่ในชั้นเรียน)
3. ไวยากรณ์ : มี/มีคำถามคำบุพบทและคำสรรพนาม



ใบงานที่ 5

สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 4 ธันวาคม 2562
1. parts of speech
2. kinds of the sentences
1. ส่วนของการพูด
2. ชนิดของประโยค


การฝึกแต่งประโยค คำถาม บอกเล่า ปฏิเสธ


ใบงานที่ 4

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561

1. Present about a room in the house.
2. Grouping the words from the given document.
3. Practice how to pronounce the words and sentences.

1. นำเสนอเกี่ยวกับห้องในบ้าน
2. การจัดกลุ่มคำจากเอกสารที่กำหนด
3. ฝึกฝนวิธีออกเสียงคำและประโยค

ใบงานที่ 3

สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
งานในเนื้อหานี้ ให้นักศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับ
1. เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
2. ยกตัวอย่างประกอบด้วยการเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 2 กิจกรรม

กิจกรรมการออกแบบสื่อ (Dining room)


ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง


1. เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 

             เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการรู้หนังสือในระยะแรกเริ่ม โดยแผนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล
           การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                 1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
                      1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย
                            (1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ
                            (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง
                            (3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง
                            (4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ
                            (5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง
                     1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด

สรุป การจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษครูควรคำนึงถึงพัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อให้เขาได้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดี

อ้างอิง : http://www.nareumon.com/index.php?option=com


2. ยกตัวอย่างประกอบด้วยการเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 2 กิจกรรม

กิจกรรมที่ 2 เกม Color in the air

Title     :     Color in the air
Type     :    Active Game
Target     :     คำศัพท์เกี่ยวกับสี
Materials     :     กระดาษสีต่าง ๆ ขนาด 5×5 นิ้ว

Procedure :
เกมนี้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเริ่มเรียนเกี่ยวกับสี
ครูแจกกระดาษสีให้เด็ก ๆ คนละ 2 แผ่น โดยกระดาษสีที่ให้สีจะต้องไม่ซ้ำกัน
เมื่อครูพูดว่า “Blue Color” ให้เด็ก ๆ ที่มีกระดาษสีฟ้า ชูกระดาษขึ้น
เมื่อครูพูดว่า “Green Color” ให้เด็ก ๆ ที่มีกระดาษสีเขียว ชูกระดาษขึ้น
หากเด็กยกผิดสี ให้ออกจากเกม เล่นไปเรื่อย ๆ จนเหลือเด็กเพียงคนเดียว
ซึ่งก็คือ ผู้ชนะ


กิจกรรมที่ 2 ชื่อกิจกรรม Counting numbers 1-10 and song "one two tree "

จุดประสงค์ : 1. เด็กร้องเพลง "one two tree " พร้อมทำท่าทางประกอบ
                       2. เด็กสามารถนับเลข 1-10 เป็นภาษาอังกฤษได้

อ้างอิง : https://knowin.wordpress.com.

ใบงานที่ 2

สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561
ให้นักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ
1. หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
2. ความหมาย ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
3. ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย


name in phonetic type



ในภาพอาจจะมี ข้อความ

1. หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
กีเซล (Gesell)
•  พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
• จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
•  ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อีริคสัน (Erikson) 
• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
เพียเจท์ (Piaget) 
•  การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
• จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
• จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา

ฟรอยด์ (Freud) 
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก
• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
•  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู
• พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
•  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมดิวอี้ (Dewey)การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครูสกินเนอร์  (Skinner)
• ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไปการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จเปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
• ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา• เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก• จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ เฟรอเบล (Froeble) • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรีการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
•  ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
• เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
• การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

2. ความหมาย ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย      
    การศึกษาปฐมวัยหมายถึง การจัดการศึกษาปฐมวัย”  หมายถึง  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี (5  ปี  11 เดือน  29 วัน )  ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาทางสมอง  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้มีชื่อเรียกต่างกันไปหลายชื่อ  ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการและลักษณะในการจัดกิจกรรมซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาเด็กในรูปแบบต่าง ๆ กันการจัดการศึกษาปฐมวัยควรมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเต็มที่  ซึ่งแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้ทุกรูปแบบควรมีส่วนสำคัญดังที่มาสโซเกลีย (Massoglia. 1977 : 3 – 4 )  กล่าวเอาไว้ ดังนี้     
1.  เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านนับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเริ่มเข้าเรียนในระดับโรงเรียน          
2.  วางพื้นฐานทางสุขภาพอนามัยให้กับเด็กตั้งแต่ต้นรวมทั้งเด็กที่มีข้อบกพร่องต่าง ๆ           
3.  สิ่งแวดล้อมทางบ้านควรมีส่วนช่วยให้เด็กเจริญเติบโต และพัฒนาในทุก ๆ ด้าน          
4.  พ่อแม่ควรเป็นครูคนแรกที่มีความสำคัญต่อลูก         
5.  อิทธิพลจากทางบ้านควรมีผลต่อกระบวนการในการพัฒนาเด็กประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราได้ทราบถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียนและหลักในการใช้คำในการอ่านและการพูด ทำให้สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
1. ทักษะการใช้ภาษา
2. ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
3. การอ่าน และการฟัง    
    
3.  ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย       
   ความสำคัญของภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แค้ท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แค่ท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อ้างอิ : http://amonrat220.blogspot.com/2016/05/1.html          http://pratumwai53.blogspot.com/2012/12/blog-post_28.html
https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs


สรุป ภาษาอังกฤษในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นเราอย่าควรมองข้ามและในฐานะที่เรียนครูปฐมวัยก็อยากจะ
ปลูกฝังให้กับเด็กในวัยนี้มากที่สุดเพื่อให้เขาเติบโตมาอย่างมีประสิทธิภาพ

ใบงานที่ 1

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
ค้นคว้า เกี่ยวกับ
1. การออกเสียงภาษาอังกฤษ
2. การลงเสียงเน้นหนักในคำ
3. ระดับเสียงสูงต่ำในประโยคอย่างถูกต้อง



ศึกษาจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัย 
อ้างอิง #อย่างน้อย 3 แหล่งข้อมูล
#หากนักศึกษาได้ข้อมูลจาก website ใด ๆ จะต้องทำการสรุปเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของตนเองด้วย

งานหมวดคำศัพท์



รูปวิดีโอเต้นเพลง one two three four five




1.  การออกเสียงภาษาอังกฤษ
       การออกเสียงสำคัญอย่างไร ?
              บางคนคิดว่าการอออกเสียงภาษาอังกฤษทุกคำชัดถ้อยชัดคำน่าจะทำให้ฝรั่งเข้าใจ จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ เพราะฝรั่งไม่เคยชินการออกเสียงประเภทนั้น ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประเภท stress timed language ซึ่งหมายความว่าในภาษาอังกฤษ จะออกเสียงเน้นหนักเฉพาะคำที่ต้องการเน้น หรือแสดงความหมายสำคัญเท่านั้น คำที่ไม่สำคัญในประโยคก็จะลดการออกเสียงด้วยการพูดรวบรัดให้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เหมือนมึมมำ อึมอำ กลืนคำเอาไว้ในคอ
          การออกเสียงเน้นหนักของคำในประโยค (Sentence Stress) สามารถเปลี่ยนย้ายคำได้ ขึ้นอยู่กับว่าประโยคที่เราพูดนั้น เราต้องการเน้นอะไร เราก็ออกเสียงเน้นหนักในคำเหล่านั้น
          ส่วนใหญ่แล้วคำที่ให้ความหมายสำคัญในประโยค (content words)  ก็มักจะเป็นคำพวก คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำปฎิเสธ ส่วนคำประกอบที่ไม่สำคัญ  function words  ก็ได้แก่ คำสรรพนาม คำบุพบท คำนำหน้าคำนาม คำสันธาน คำกริยาช่วย ดังรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้นะครับ
        ส่วนใหญ่แล้วคำที่ให้ความหมายสำคัญในประโยค (content words)  ก็มักจะเป็นคำพวก คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำปฎิเสธ ส่วนคำประกอบที่ไม่สำคัญ  function words  ก็ได้แก่ คำสรรพนาม คำบุพบท คำนำหน้าคำนาม คำสันธาน คำกริยาช่วย ดังรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้นะครับ

                             Content Words
                           Function Words

คำกริยาแท้           Main Verbs
go, talk, writing
คำสรรพนามPronouns
I, you, he ,they
คำนาม Nouns
homework, dinner
คำบุพบทPrepositions
on, under, with
คำคุณศัพท์ Adjectives
big, clever
คำนำหน้าคำนามArticles
the, a, some
คำกริยาวิเศษณ์Adverbs
Quickly ,out
คำสันธานConjunctions
but, and, so
คำปฎิเสธ Negative Aux. Verbs
can't, don't, aren't
คำกริยาช่วยAuxiliary Verbs
can, should, must, have to
คำนิยมวิเศษณ์Demonstratives
this, that, those
คำกริยาVerb "to be"
is, was, am
คำถาม  Question Words
when, which, where


                           
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเน้นหนักคำ (word stress)

เสียงหนักเบา (Word Stress)
ภาษาอังกฤษนั้นมีความแตกต่างจากภาษาไทยตรงที่ว่า ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาชนิด stress language เพราะมีการใช้เสียงหนักเบาทั้งในคำ (word stress) และเสียงหนักเบาในประโยค (sentence stress) เพื่อสื่อความหมาย ส่วนภาษาไทยเป็นภาษาชนิด Tone language เพราะเสียงชัดทุกตัวต่างแต่วรรณยุกต์เท่านั้น เพื่อใช้ในการสื่อความหมายเช่นเดียวกัน

เครื่องหมายแทนเสียงหนักเบา
บางเล่มใช้วงกลมแทนเสียงหนักเบา ดังนี้
วงกลมใหญ่ = เสียงหนัก (stress or strong stress)
วงกลมเล็ก = เสียงเบา (unstress or weak stress)

เสียงหนักเบาในคำ
เสียงหนักเบาในคำนั้น มีหลักเกณฑ์กว้างๆ ดังนี้
1. คำสองพยางค์ที่เป็นคำนาม หรือคำคุณศัพท์ stress ที่พยางค์แรก
     'con.duct           'rec.ord
2. คำสองพยางค์ที่เป็นคำกริยา stress ที่พยางค์ที่ท้าย
     con.'duct           rec.'ord
3. คำที่มีสองพยางค์ขึ้นไป หากมีสระเดี่ยวเหล่านี้ /i:, 3:, ae, (เสียงอะ), (เสียงออ), u:/ ก็ให้ stress ได้เลย
ส่วนเสียง เออะ และ I (อิ) ลงเสียงเบาทุกที่ที่มีเสียงนี้
     ex.'tract            'so.fa            ap.'prove           to.'bac.co
4. คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ควรดูที่พยางค์ท้ายว่า ลงท้ายด้วยอะไร
-ถ้าลงท้ายด้วย -al, -ate, -ble, -lly, -lar, -ment, -y, -ty จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้าย
     e.co.'no.mi.cal           'ca.pa.ble           'ac.tual.ly
-ถ้าลงท้ายด้วย -ian, -ic, -ish, -sion, -tion, -tive, -tor, -ter จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้าย
     e.co.'no.mic           es.'tab.lish
5. เสียงหนักเบาในคำประสม
-noun + noun (2 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรกนะครับ
     'book case           'foot.print
-noun + noun (3 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรกเช่นกัน
     'news.pa.per        'post of.fice
-คำประสมที่มีคำนามอยู่ท้าย จะ stress ที่คำนามตัวท้ายนั้น
     down.'stairs           first -'class
-คำประสมลงท้ายด้วยคำกริยา จะ stress ที่กริยาตัวท้ายนั้น
     o.ver.'look            un.der.'stand
-คำประสมประเภทสรรพนามสะท้อน จะ stress ที่พยางค์หลัง
     him.'self                my.'self
6. คำประเภท two-word verbs จะ stress ที่พยางค์ท้าย
     get 'up                  look 'up
7. คำ preposition และ conjunction ส่วนมากจะ stress ที่พยางค์ท้าย
     a.'bout                  be.'hind            with.'in

2.การลงเสียงเน้นหนักในคำ
การเน้นเสียงในภาษาอังกฤษทำได้โดยการทำให้เสียงดังขึ้น หรือทำให้เสียงสูงขึ้น
       การเน้นเสียงของคำ
คำศัพท์แต่ละคำ จะมีการเน้นเสียงในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับคำ สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดดิกชันนารี ตัวอย่างเช่น
(ตัวใหญ่คือเสียงที่เน้น)
Option --/OP-tion/ เสียงเหมือน อ้อป-ชัน
canal -- /ca-NAL/ เสียงเหมือน คะ-แนล (ลากเสียง แนล)
deposit -- /de-PO-sit/ เสียงเหมือน ดิ-พ้อ-สิท
spaghetti --/spa-GHET-ti/ สเปอะ-เก๊ต-ทิ อันนี้แปลกหน่อย เน้นตัวที่สาม
การเน้นเสียงในประโยค
ในประโยคจะมีการเน้นเสียงหลายจุด ยกเว้นคำที่เป็น pronoun และ preposition และคำท้ายสุดของประโยคจะมีการเน้นเสียงหนักสุด ที่เรียกว่า เสียงเน้นหลัก(Primary Stress) เช่น
If you don't want to add a poll to your topic.
If you don't want to add a poll to your topic.
I don't think that control is in OPEC's hands.
อ่านเป็น I don't think that control is in OPEC's hands.
เสียงเชื่อม (Linking)

เสียงเชื่อมเป็น เสียงต่อเนื่อง ระหว่างคำที่อ่านต่อเนื่องกัน โดยเสียงสะกดของคำแรก จะออกเสียงต่อเนื่องมาเป็นเสียงพยัญชนะต้นของคำที่สอง ตัวอย่างเช่น
It's a book - จะออกเสียงเหมือน /its-sa-book/ อ่าน อิทซ์-ซะ-บุ้ค ไม่ใช่ อิทซ์-อะ-บุค
Can you add a poll? - จะออกเสียงเหมือน /can-you-add-da-poll/ อ่าน แคน-ยู-แอด-ดะ-โพล โดยคำว่า อะ จะออกเสียงเป็น ดะ เนื่องจากเสื่องเชื่อมจากคำสะกดของคำหน้า
Weekend - จะออกเสียงเหมือน /week-kend /อ่าน วีคเค็นด์ โดยคำว่า เอ็นด์ จะออกเสียงเป็น เค็นด์ เนื่องจากเสื่องเชื่อมจากคำสะกดของคำหน้า
L.A. - จะออกเสียงเป็น /L-la /อ่าน แอว เล ไม่ใช่ แอว เอ
Vineyard (ไร่องุ่นทำไวน์) - จะออกเสียงเป็น /Vin-neard/อ่าน ฝวินเนียร์ด ไม่ใช่ วายยาด
bald eagle (นกอินทรีย์หัวขาว) - จะได้ยินเป็น /bal-dea-gle/ บอว์ ทีเกิ้ล หรือ บอว์ ดีเกิ้ล

3.ระดับเสียงสูงต่ำในประโยคอย่างถูกต้อง
เสียงสูงต่ำ ท้ายประโยค
เสียงสูงต่ำท้ายประโยคขึ้นอยู่กับความหมายของประโยค โดย
ประโยคธรรมดา ลงเสียงต่ำ
I like coffee ลงเสียงต่ำที่คำว่า coffee อ่าน คอป-ฟี
ประโยคคำถาม ที่ถามว่า ใช่หรือไม่ ขึ้นเสียงสูง (รวมถึงประโยคที่เป็น tag question)
Do you like coffee? ขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า cofee อ่าน คอป-ฟี้
ประโยคคำถาม ที่ถามหาคำตอบ ลงเสียงต่ำ
What do you like ? ลงเสียงต่ำตรงคำว่า like อ่าน ไหลค์
สำหรับประโยคเดียวกัน ที่ออกเสียงต่างกัน จะทำให้ความหมายต่างกัน เช่น
Do you like tea or coffee?
ถ้าพูด คำว่า coffee ลงเสียงต่ำ ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ ชาหรือกาแฟ (โดยให้เลือกเอา)"
ถ้าพูด คำว่า coffee ขึ้นเสียงสูง ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ ชาหรือกาแฟไหม (โดยถามว่า เอาหรือไม่เอา)"

อ้างอิง: aunchaleegosa.blogspot.com 
:http://campus1234.blogspot.com/ 

สรุป การออกเสียงภาษาอังกฤษจะทำให้เรารู้ว่าคำไหนควรออกเสียงหนักเสียงเบาและระดับเสียงสูงต่ำที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เราสามารถออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักของภาษาอังกฤษได้และยังสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยไว้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย